แอฟริกาผ่านออนไลน์ผลไม้กระป๋องละ 2 พันบาท..!!

สัดส่วนในกลุ่มประเทศอาเซียน ประชากรของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีการเล่นอินเตอร์เน็ตจำนวน 30 ล้านรายพอๆ กัน ในขณะที่ประเทศไทยมีประชากรเล่นอินเตอร์เน็ตเพียง 18.3 ล้านรายเท่านั้นจากประชากร 65 ล้าน ประกอบกับการค้าขายทางปกติหรือที่เราเรียกว่าการค้าแบบออฟไลน์นั้นมีแนวโน้ม ที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยภิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประกอบกับค่าแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานมีราคาที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่น กัน ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ต้นทุนผู้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามไปอย่างไม่สามารถหลีก เลี่ยงได้ ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การค้าผ่านระบบออนไลน์จึงเป็นทางเลือก ใหม่ที่น่าจับตา


ไม่มีสินค้าในมือแต่อยากส่งออกทำยังไง?

วรเศรษฐ์ เมธาอัครพัฒน์ นักค้าออนไลน์ระดับแนวหน้าของไทย แนะนำว่า สำหรับคนที่ไม่มีสินค้าในมือบ้าง หมายความว่าเพิ่งเริ่มทำ ต้องการเป็นเทรดเดอร์ เริ่มจาก 0 โดยไม่มีทุนและไม่มีสินค้า ประเด็นคือถ้าไม่มีสินค้าก็ต้องติดต่อโรงงานเพื่อขายสินค้าจากโรงงานนั้นให้ ได้ สมมติคุณอยากหาสินค้าส่งออก เช่น ส่งออกสินค้าเสื้อผ้า คุณก็ไปประตูน้ำ ถ้าคุณเข้าไปร้านแรก บอกเขาว่าสินค้าของเขาดี อยากถ่ายภาพเพื่อนำไปขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต คำตอบที่จะได้รับกลับมาคือ “ซื้อเลยดีกว่าพี่ ผมขายให้ราคาถูก เพราะผมได้ยินอย่างนี้มาเป็นพันรอบแล้ว” เมื่อคุณได้รับคำตอบแบบนี้ซ้ำๆ กันหลายครั้งในที่สุดคุณก็จะรู้สึกล้มเหลว ฉะนั้นอย่าไปขอ แต่จงแสดงตัวว่าคุณสามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง โดยเปลี่ยนเป็นคำพูดว่า “อีกสองเดือนผมจะมีออเดอร์เสื้อผ้าแบบนี้เข้ามา แต่ผมไม่ได้ทำธุรกิจประเภทนี้ ผมทำประเภทอื่น แต่บังเอิญลูกค้าเขาจะเอา แต่ยังไม่ชัวร์ 100% เอายังงี้ดีกว่า คุณบอกราคาส่งให้ผม ผมจะ ได้บอกกับลูกค้าได้” พูดแค่นี้พอ ไม่ต้องขอถ่ายภาพ เพราะภาพไปหาจากที่อื่นได้ บางคนสามารถหาสินค้าเป็นพันยี่ห้อมาขายทางอินเตอร์เน็ตโดยที่ไม่ต้องลงเงิน สักบาท ด้วยวิธีเดินเข้าดิสเคาต์สโตร์ มีของเป็นพันชิ้นให้เลือก ทุกยี่ห้อทุกแบรนด์ได้มาตรฐานหมด แน่ใจ 100% ของถูกชัวร์ เช่น อยากขายผลไม้กระป๋อง ก็เอายี่ห้อที่กินแล้วอร่อย เสนอลูกค้าในต่างประเทศ โดยเอาภาพจากเว็บไซต์โรงงานที่ผลิตน้ำผลไม้ชนิดนั้น มีรายละเอียดครบถ้วน ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาลิขสิทธิ์ ยกเว้นไปเอาภาพที่เขาออกแบบตกแต่งเป็นการเฉพาะมาใช้ พอลูกค้าสั่งสินค้ามาก็ไปที่ดิสเคาต์สโตร์ บอกให้เขาออกของให้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คุณซื้อของในดิสเคาต์สโตร์ถูกกว่าซื้อตรงจากโรงงานอีก (ถ้าเป็นจำนวนน้อยๆ)

 

แอฟริกาตลาดเล็กๆ แต่น่าสนใจ?

คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่านักช็อปจำพวกหนึ่งที่นิยมสั่งซื้อของด้วยระบบออนไลน์คือ พวกอาหรับหรือแอฟริกา และประเทศโลกที่สามของยุโรป คือยุโรปที่ยังไม่เจริญ ไม่ใช่ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ส่วนมากจะเป็นบัลแกเรีย โรมาเนีย กรีซ ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจยังเล็ก แต่เขามีกำลังซื้อ เพียงแต่กำลังซื้อของเขาไม่สามารถจะบินมาที่เมืองไทยได้ โดยเฉพาะลูกค้าที่มาจากโรมาเนียบัลแกเลีย ไนจีเรีย เป็นลูกค้าที่เวิร์กมาก ที่สำคัญลูกค้าพวกนี้ไม่ค่อยมาเดินงานแฟร์ แต่มีกำลังซื้อ แล้วอยากได้สินค้าจริงๆ วรเศรษฐ์เล่าว่า มีคนถามเขาจะขายอะไรไปแอฟริกาดี เขาแนะนำขาย
ป็อกกี้ก็แล้วกัน คนถามๆ ย้ำว่าว่าขายได้จริงหรือ คำตอบคือลองไปขายดูสิ ปรากฏว่าขายดีมาก เพราะป๊อกกี้ไม่มีในแอฟริกา เขารู้ได้ยังไงว่าป๊อกกี้ไม่มีขายในแอฟริกา ความจริงเขาไม่รู้หรอก เพียงแต่คิดว่าผู้ผลิตคงไม่ไปทำตลาดในแอฟริกา คงเน้นทำตลาดอื่นที่มีโอกาสมากกว่า ถ้าจะเข้าไปแอฟริกาก็คงเป็นที่สุดท้าย วรเศรษฐ์เล่าว่า มีคนเคยขายผลไม้กระป๋องได้เกือบ 2 พันบาทต่อกระป๋อง แอฟริกาอยากได้มาก ราคาที่ผู้ขายคนไทยเสนอไปคือ 70 เหรียญสหรัฐ เขาเอา ขายของแซมเปิลยังไงก็ได้กำไร เพราะผู้ซื้อต้องการเอาไปลอง แต่ถ้าเขาจะสั่งไปขายเป็นล็อตใหญ่ก็จะซีเรียสหน่อย อาจต้องติดต่อกับโรงงานโดยตรง แล้วสินค้าแฮนเมดขายที่ไหนดี แอฟริกาก็ขายดี ซึ่งสถานทูตแอฟริกาบางประเทศในเมืองไทยไม่มี ถ้าไม่มีแปลว่าเขาบินเข้าเมืองไทยไม่ได้ แต่อินเตอร์เน็ตส่งได้ ไปรษณีย์ไทยส่งสินค้าได้ทุกที่ในโลก ที่ไหนก็ตาม ส่งได้หมด ราคายุติธรรม
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า จากปัญหาภัยธรรมชาติ การจลาจลที่เกิดขึ้นทั่วโลก จึงต้องการที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันมาทำการค้าขายบนโลกออนไลน์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

 

ขอขอบคุณ บทความจากหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ

เศรษฐกิจมหภาค > Lead   
[ ฉบับที่ 1229 ประจำวันที่ 20-8-2011  ถึง 22-8-2011 ]

http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413355001 

 

Post a Comment

*
* (will not be published)

Blue Captcha Image
Refresh

*


seven × 6 =